เรื่องนี้ เราคิดว่าเพื่อนบางคนอาจรู้จักมาบ้างแล้ว แต่ลองมาอ่านแบบเต็มๆกันนะ
เรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
ครั้งหนึ่งเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วที่บ้านตาดทอง ในฤดูฝนมีการเตรียมปักดำกล้าข้าวทุกครอบครัวจะออกไปไถนาเตรียมการเพราะปลูก ครอบครัวของชายหนุ่มคนหนึ่งกำพร้าพ่อ ไม่ปรากฏชื่อหลักฐาน ก็ออกไปปฏิบัติภารกิจเช่นเดียวกัน
วันหนึ่งเขาไถนาอยู่นานจนสาย ตะวันขึ้นสูงแล้วรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมากกว่าปกติ และหิวข้าวมากกว่าทุกวัน ปกติแล้วแม่ผู้ชราจะมาส่งก่องข้าวให้ทุกวัน แต่วันนี้กลับมาช้าผิดปกติ
เขาจึงหยุดไถนาเข้าพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้ ปล่อยเจ้าทุยไปกินหญ้าสายตาเหม่อมองไปทางบ้าน รอคอยแม่ที่จะมาส่งข้าวตามเวลาที่ควรจะมา ด้วยความรู้สึกกระวนกระวายใจยิ่งสายตะวันขึ้นสูงแดดยิ่งร้อนความหิวกระหายยิ่งทวีคูณขึ้น
ทันใดนั้นเขามองเห็นแม่เดินเลียบมาตามคันนาพร้อมก่องข้าวน้อยๆ ห้อยต่องแต่งอยู่บนเสาแหรกคาน เขารู้สึกไม่พอใจที่แม่เอาก่องข้าวน้อยนั้นมาช้ามาก ด้วยความหิวกระหายจนตาลาย อารมณ์พลุ่งพล่าน เขาคิดว่าข้าวในก่องข้าวน้อยนั้นคงกินไม่อิ่มเป็นแน่ จึงเอ่ยต่อว่าแม่ของตนว่า "ทำไมถึงมาช้านัก แล้วก่องข้าวก็น้อยแค่นี้ จะกินอิ่มหรือ"ผู้เป็นแม่เอ่ยปากตอบลูกว่า "ถึงก่องข้าวจะน้อยก็น้อยต้อนแต้นแน่นในดอกลูกเอ๋ย ลองกินเบิ่งก่อน"
ความหิว ความเหน็ดเหนื่อย ความโมโห หูอื้อตาลาย ไม่ยอมฟังเสียงใดๆ เกิดบันดาลโทสะอย่างแรงกล้า คว้าได้ไม้แอกน้อยเข้าตีแม่ที่แก่ชราจนล้มลงแล้วก็เดินไปกินข้าว กินข้าวจนอิ่มแล้วแต่ข้าวยังไม่หมดกล่อง จึงรู้สึกผิดชอบชั่วดี รีบวิ่งไปดูอาการของแม่และเข้าสวมกอดแม่
อนิจจา แม่สิ้นใจไปเสียแล้ว..
ชายหนุ่มร้อยไห้โฮ สำนึกผิดที่ฆ่าแม่ของตนเองด้วยอารมณ์เพียงชั้ววูบ ไม่รู้จะทำประการใดดี จึงเข้ากราบนมัสการสมภารวัดเล่าเรื่องให้ท่านฟังโดยละเอียด
สมภารสอนว่า "การฆ่าบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้าของตนเองนั้นเป็นบาปหนัก เป็นมาตุฆาต ต้องตกนรกอเวจีตายแล้วไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นคนอีก มีทางเดียวจะให้บาปเบาลงได้ก็ด้วยการสร้างธาตุก่อกวมกระดูกแม่ไว้ ให้สูงเท่านกเขาเหิน จะได้เป็นการไถ่บาปหนักให้เป็นเบาลงได้บ้าง"
เมื่อชายหนุ่มปลงศพแม่แล้ว ขอร้องชักชวนญาติมิตรชาวบ้านช่วยกันปั้นอิฐก่อเป็นธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิแม่ไว้ จึงให้ชื่อว่า "ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่" จนตราบทุกวันนี้
ทุกวันนี้มีผู้มากราบธาตุก่องข้าวน้อยฯทุกวันเพื่อขอขมาลาโทษเหมือนเป็นการไถ่บาปที่ทำให้พ่อแม่เสียใจ บางคนเมื่อมีลูกแล้วถึงรู้ว่าบุญคุณแม่มากสุดเหลือคณานับ เพิ่งรู้ว่าเลี้ยงดูลูกนั้นยากหนักหนาขนาดไหน จึงมาสำนึกที่ทำให้แม่ต้องเสียใจ บ้างก็มากราบไหว้เพื่อรำลึกถึงบุญคุณแม่
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
เรื่องหนุกๆ
เรามีเรื่องหนุกมาเล่าให้ฟัง เอ้านั่งๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความเชื่อของชาวอีสานทางเหนือปนอยู่นิดนึง อยากให้ลองอ่านกัน เรื่องมีอยู่ว่า..
มีเด็กวัดอยู่สองคน โกหกชั้นหนึ่งไม่มีใครจับได้ วันหนึ่งทั้งสองคนได้ไปอาบน้ำที่ท่าน้ำแห่งหนึ่ง และได้ตกลงกันว่า ถ้าใครโกหกได้ดีกว่าจะมีรางวัลให้
คนหนึ่งกระโดดลงไปในแม่น้ำโดยได้อมเหรียญห้าบาทลงไปด้วยพอโผล่ขึ้นมาก็บอกแก่เพื่อนว่า
“เฮ้ย! ฉันดำน้ำลงไปเจอพญานาคกำลังเล่นไพ่กันอยู่ฉันยังขอเหรียญห้าบาทมาหนึ่งเหรียญเลย”
เพื่อนอีกคนหนึ่งรู้ว่าโกหกแต่ไม่รู้จะทำอย่างไรก็เลยโดดลงไปในน้ำด้วยความโมโห หัวเลยไปชนตอหัวแตกพอโผล่ขึ้นมาก็บอกแก่เพื่อนว่า
"เฮ้ย! ฉันโดดลงไปในน้ำโชคไม่ดีเลย ท่านพญานาคกำลังเล่นไพ่เสีย เลยตีหัวข้าแตก แล้วบอกว่าให้ฉันมาเอาเงินที่แกครึ่งหนึ่งไปซื้อยา"
มีเด็กวัดอยู่สองคน โกหกชั้นหนึ่งไม่มีใครจับได้ วันหนึ่งทั้งสองคนได้ไปอาบน้ำที่ท่าน้ำแห่งหนึ่ง และได้ตกลงกันว่า ถ้าใครโกหกได้ดีกว่าจะมีรางวัลให้
คนหนึ่งกระโดดลงไปในแม่น้ำโดยได้อมเหรียญห้าบาทลงไปด้วยพอโผล่ขึ้นมาก็บอกแก่เพื่อนว่า
“เฮ้ย! ฉันดำน้ำลงไปเจอพญานาคกำลังเล่นไพ่กันอยู่ฉันยังขอเหรียญห้าบาทมาหนึ่งเหรียญเลย”
เพื่อนอีกคนหนึ่งรู้ว่าโกหกแต่ไม่รู้จะทำอย่างไรก็เลยโดดลงไปในน้ำด้วยความโมโห หัวเลยไปชนตอหัวแตกพอโผล่ขึ้นมาก็บอกแก่เพื่อนว่า
"เฮ้ย! ฉันโดดลงไปในน้ำโชคไม่ดีเลย ท่านพญานาคกำลังเล่นไพ่เสีย เลยตีหัวข้าแตก แล้วบอกว่าให้ฉันมาเอาเงินที่แกครึ่งหนึ่งไปซื้อยา"
วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
แนะนำภาพยนตร์
เราอยากแนะนำหนังเรื่องหนึ่ง แต่คิดว่าทุคนอาจรู้จักกันแล้ว คือเรื่อง "L change the World"สมุดโน้ตสิ้นโลก
ถ้าใครที่เคยดู Death Note คงรู้จัก L
<แอล>ดี ในเรื่องนี้ Lของเราฉายเดี่ยวค่ะ
และครั้งนี้ไม่ใช่ไม่ใช่สมุดเดธโน้ตหรือตัวคิระที่เป็นไคลแม็กซ์สำคัญของเรื่อง แต่เป็นเชื้อ ‘ไวรัส’ มหันตภัยร้ายฆ่าชีวิตมนุษย์!
หนังยังแสดงให้เห็นอีกว่า‘แอลคนเดียว’ คงไม่สามารถเปลี่ยนโลกได้… แต่ถ้ามี ‘แอลหลายคน’ ร่วมมือกันนั่นต่างหากที่จะช่วยโลกให้รอดพ้นจากวิกฤตได้สำเร็จ
อย่าพลาดเรื่องนี้นะ
วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551
ส้มตำแถวบ้านจ้าาาาา
เราก็ไม่รู้ว่าทำไม๊ ทำไม คนถึงสับสนระหว่าง"อุบล" กับ "อุดร" ทั้งที่ไม่ใกล้กันเท่าไร<ห่างกันตั้งเกือบ400กิโลเมตรกว่า> คงเพราะ"อุ"เหมือนกัน และอยู่ภาคอีสานด้วยมั้ง <ว่าแต่..บ่นอะไรอยู่เนี่ย>
น่ากินป่ะ นี่ส้มตำปูปลาร้าจ๊ะ <แอบน้ำลายไหล>
นี่ แหนม <เคยกินป่ะ อร่อยเว่อร์อ่ะ ขอบอก>
ขอขอบคุณ พี่กะเทยเจ้าของร้านที่อนุญาตให้ถ่ายภาพค่ะ
ก่อนกลับ พี่กะเทยแกถามว่าจะเอาไปทำอะไร เลยบอกว่าจะเอาไปทำBlog พี่กะเทยแกโวยใหญ่เลย ตอนแรกเราก็ตกใจ พี่แกเลยบอกว่าที่โวย เพราะ พี่กะเทยแกยังไม่ได้แต่งหน้า
เอาล่ะ อาจารย์มาไล่แล้ว เราต้องขอไปก่อนนะ
เอาล่ะมาเข้าเรื่องกันดีกว่า
เรามีรูปที่Importจากอุดรธานีมาให้คนที่สนใจได้ดูกันนะ
น่ากินป่ะ นี่ส้มตำปูปลาร้าจ๊ะ <แอบน้ำลายไหล>
นี่ก็ ปลาย่างหอม หอม
ส้มตำต้องคู่กับไก่ย่างใช่ป่ะ
นี่ แหนม <เคยกินป่ะ อร่อยเว่อร์อ่ะ ขอบอก>
ร้านนี้ ค่อนข้างมีชื่อเสียงของจังหวัดอุดร
ขอขอบคุณ พี่กะเทยเจ้าของร้านที่อนุญาตให้ถ่ายภาพค่ะ
ก่อนกลับ พี่กะเทยแกถามว่าจะเอาไปทำอะไร เลยบอกว่าจะเอาไปทำBlog พี่กะเทยแกโวยใหญ่เลย ตอนแรกเราก็ตกใจ พี่แกเลยบอกว่าที่โวย เพราะ พี่กะเทยแกยังไม่ได้แต่งหน้า
เอาล่ะ อาจารย์มาไล่แล้ว เราต้องขอไปก่อนนะ
ป้ายกำกับ:
อุดรของเราน่าอยู่ ส้มตำน่ากินทุกจาน
วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551
เย้ ซำบายดี
คุณรู้จักส้มตำไหม???????
คนมักเข้าใจกันผิดว่าส้มตำเป็นอาหารพื้นเมืองของภาคอีสานหรือของลาว แท้จริงแล้วส้มตำเป็นอาหารสมัยใหม่ถือกำเนิดมาราว 40 ปีเท่านั้น เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่นำเข้ามาจากเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งในตอนนั้นรัฐบาลไทยให้สหรัฐอเมริกา เข้ามาตั้งฐานทัพ และตัดถนนมิตรภาพเพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ไปยังพื้นที่สู้รบ พร้อมกันนั้นได้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอไปปลูกสองข้างทางของถนนมิตรภาพ มะละกอจึงเผยแพร่ไปสู่ภาคอีสาน เปิดโอกาสให้ชาวอีสานได้ประดิษฐ์ส้มตำขึ้น
อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533 เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึง ส้มตำ ในเพลงชื่อ ปาปาย่า ป๊อก ป๊อก และเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น ซึ่งต่อมาคำว่า ปาปาย่า ป๊อก ป๊อก นี้เป็นที่รับรู้กันในสังคมว่าหมายถึงส้มตำ แต่มิใช่เป็นคำเรียกส้มตำในภาษาอังกฤษอย่างที่หลายคนเข้าใจ
คนมักเข้าใจกันผิดว่าส้มตำเป็นอาหารพื้นเมืองของภาคอีสานหรือของลาว แท้จริงแล้วส้มตำเป็นอาหารสมัยใหม่ถือกำเนิดมาราว 40 ปีเท่านั้น เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่นำเข้ามาจากเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งในตอนนั้นรัฐบาลไทยให้สหรัฐอเมริกา เข้ามาตั้งฐานทัพ และตัดถนนมิตรภาพเพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ไปยังพื้นที่สู้รบ พร้อมกันนั้นได้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอไปปลูกสองข้างทางของถนนมิตรภาพ มะละกอจึงเผยแพร่ไปสู่ภาคอีสาน เปิดโอกาสให้ชาวอีสานได้ประดิษฐ์ส้มตำขึ้น
อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533 เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึง ส้มตำ ในเพลงชื่อ ปาปาย่า ป๊อก ป๊อก และเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น ซึ่งต่อมาคำว่า ปาปาย่า ป๊อก ป๊อก นี้เป็นที่รับรู้กันในสังคมว่าหมายถึงส้มตำ แต่มิใช่เป็นคำเรียกส้มตำในภาษาอังกฤษอย่างที่หลายคนเข้าใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)